เมนู

การก้าวล่วง (กิเลส) 1 ด้วยอำนาจภาวนา 1 ในโสตทวารและมโนทวาร
ก็ย่อมได้ด้วยอาการ 3 เหมือนอย่างนั้น แต่ฆานะ ชิวหา และกายทวาร
พึ่งทราบว่า ย่อมได้ด้วยอาการ 2 อย่าง คือ ด้วยอำนาจการก้าวล่วง และ
ด้วยอํานาจภาวนา.

ว่าด้วยอาการ 3


ย่อมได้ด้วยอาการ 3 เป็นอย่างไร ?
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวจาริกไปยังวิหารเห็นมณฑลกสิณ
จึงถามว่ นี้ชื่ออะไร เมื่อเขาตอบว่า มณฑลกสิณดังนี้ จึงถามอีกว่าพวกเขา
ทำอะไรด้วยมณฑลกสิณนี้ ที่นั้นพวกภิกษุจึงบอกแก่เธอว่า พวกภิกษุเจริญ-
มณฑลกสิณนี้ยังฌานทั้งหลายให้เกิดแล้ว เจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นบาทแล้ว
บรรลุพระอรหัต ดังนี้กุลบุตร (ผู้บวชด้วยศรัทธา) จึงพร้อมด้วยความตั้งใจ
มิได้กำหนดว่า นี้เป็นภาระหนัก มีความคิดว่า แม้เราก็ควรยังคุณนี้ให้เกิดขึ้น
ดังนี้ จึงคิดว่า ถึงคุณนี้อันบุคคลผู้นอนหลับ ไม่อาจเพื่อจะให้เกิดได้
เราควรทำความเพียรชำระศีลให้หมดจดตั้งแต่เบื้องต้น
ดังนี้ จึงยังศีล
ให้หมดจด ต่อจากนั้น ก็ตั้งมั่นในศีล ตัดปลิโพธ 10 เป็นผู้สันโดษยินดีด้วย
ไตรจีวรเป็นอย่างยีง ทำวัตรปฏิบัติต่อพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ เรียนกรรมฐาน
กระทำกสิณบริกรรม ยังสมาบัติให้เกิดแล้วเจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นปทัฏฐาน
แล้วบรรลุพระอรหัต. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น จักขุวิญญาณเป็นปัจจัย
ที่มีกำลังก็การเกิดเวทนาเป็นไปในภูมิ 4 อย่างนี้ คือ เวทนาในการบริกรรม
แม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาในสมาบัติ 8 เป็นรูปาพจรและอรูปาพจร
เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ เพราะฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ 4

จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในจักขุทวารย่อมได้ด้วยอำนาจ
อุปนิสสัย อย่างนี้ก่อน.
อนึ่ง เมื่อรูปมาสู่คลองจักขุทวารแล้ว กุลบุตรผู้ดำรงอยู่ในการพิจารณา
อย่างนี้ว่า ความยินดีเกิดขึ้นแล้วแก่เราในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ปฏิฆะเกิดขึ้น
แล้วแก่เราในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา โมหะเกิดขึ้นแล้วแก่เราในขณะที่ไม่เห็น
ตามเป็นจริง ก็มานะเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้มีความผูกพันในอารมณ์ต่าง ๆ ทิฏฐิ
เกิดแก่เราผู้มีความยึดถือผิด อุทธัจจะเกิดแก่เราผู้มีจิตฟุ้งซ่าน วิจิกิจฉาเกิด
แก่เราผู้ตกลงใจไม่ได้ อนุสัยเกิดแก่เราผู้มีกิเลสแรงกล้า ดังนี้ รู้ความเกิดขึ้น
แห่งกิเลสของตนแล้ว จึงคิดว่า กิเลสเหล่านี้เจริญขึ้นแก่เราแล้วจักเป็นไป
เพื่อความฉิบหาย เอาละเราจักข่มมันเสีย จึงใคร่ครวญดูว่า ก็บุคคลผู้นอนหลับ
อยู่ไม่อาจเพื่อข่มกิเลสได้ เราควรเริ่มทำความเพียร เพื่อชำระศีลให้หมดจด
แต่ต้นทีเดียว ดังนี้ จึงปฏิบัติโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ย่อมบรรลุพระอรหัต
ได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนาที่ก้าวล่วงกิเลสที่เกิดขึ้นในรูปารมณ์
เป็นไปอย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาเป็นไปใน
สมาบัติ 8 เป็นรูปาวจรารูปาวจร เวทนาเป็นไปในมรรคผลเป็นโลกุตระ
เพราฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ 4 จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเกิดขึ้น
จิตในจักขุทวารย่อมได้ด้วยอำนาจการก้าวล่วง (กิเลส) อย่างนี้.
อนึ่ง เมื่อรูปมาสู่คลองจักขุทวารแล้ว กุลบุตรผู้หนึ่ง ย่อมเริ่มตั้ง
กำหนดอย่างนี้ว่า รูปนี้อาศัยอะไร ? ต่อจากนั้นก็จักทราบรูป (รูปารมณ์)
นั้น ว่าอาศัยภูต (มหาภูตรูป) แล้วก็กำหนดมหาภูตรูป 4 และอุปาทารูป
(คือรูปที่อาศัยมหาภูตรูป) ว่าเป็นรูป และกำหนดธรรมทั้งหลายมีรูปนั้น
เป็นอารมณ์ ว่าเป็นอรูป (คือนาม) ต่อจากนั้นก็กำหนดนามรูปพร้อมทั้ง

ปัจจัยแล้วยกขึ้นสู่ลักษณะ 3 พิจารณาสังขารทั้งหลายโดยลำดับแห่งวิปัสสนา
ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนาที่เกิดขึ้น
พิจารณารูปารมณ์อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาที่
เป็นไปในสมาบัติ 8 เป็นรูปาพจร อรูปาพจร เวทนาในมรรคและผลเป็น
โลกุตระ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เวทนานี้ จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เกิดแล้ว จิตในจักขุทวาร ย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา อย่างนี้.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้ฟังว่า ได้ยินว่าบุคคลทำบริกรรมกสิณ ยังสมาบัติ
ให้เกิดขึ้นเจริญวิปัสสนา มีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้วย่อมบรรลุพระอรหัต ดังนี้
กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอัชฌาศัย (คือความตั้งใจ) มิได้กำหนดว่า เรื่องนี้เป็น
ภาระหนัก จึงดำริว่า แม้เราก็ควรให้คุณนี้เกิดขึ้น ดังนี้ แล้วก็ปฏิบัติโดยนัย
ก่อนนั่นแหละ ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น
โสตวิญญาณชื่อว่าเป็นปัจจัยมีกำลัง เพราะความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไปใน
ภูมิ 4 อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาเป็นไปใน
สมาบัติ เป็นรูปาพจร อรูปาพจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ ดังนี้
เพราะฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ 4 จึงชื่อว่า มีโสตสัมผัสเป็นปัจจัย จิต
ในโสตทวารย่อมได้ด้วยอำนาจอุปนิสสัย อย่างนี้ก่อน.
อนึ่ง เมื่อเสียงมาสู่คลองโสตทวาร กุลบุตรผู้หนึ่งย่อมเริ่มกำหนด
อย่างนี้ว่า เสียงนี้อาศัยอะไร ดังนี้เป็นต้น คำทั้งหมดนี้ พึงทราบโดยนัยที่
กล่าวในจักขุทวารนั่นแหละ. เวทนาที่เกิดขึ้นพิจารณาสัททารมณ์อย่างนี้แล้ว
เพราะฉะนั้น เวทนานี้จึงชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะมีโสตสัมผัสเป็นปัจจัย จิตใน
โสตทวารย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา อย่างนี้.

อนึ่ง คำทั้งหมดว่า ฆานะ ชิวหา และกายทวารมาสู่คลองมีกลิ่นเป็นต้น
เป็นอารมณ์ ความยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนาเกิดขึ้นแล้วแก่เราเป็นต้น
พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขุทวารนั้นแหละ. เวทนาที่เป็นไปก้าวล่วงกิเลส
ที่เกิดขึ้นในคันธารมณ์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้นเวทนาอันเป็นไปภูมิ
4 จึงชื่อว่า มีฆานะ ชิวหา กายสัมผัสเป็นปัจจัย จิตทั้งหลายย่อมได้ในทวาร 3
ด้วยอำนาจการก้าวล่วง (กิเลส) อย่างนี้.
แต่คำทั้งหมดว่า เมื่อกลิ่นเป็นต้นมาสู่คลองฆานทวารเป็นต้นแล้ว
กุลบุตรผู้หนึ่ง ย่อมเริ่มกำหนดอย่างนี้ว่า กลิ่นนี้ รสนี้ โผฏฐัพพะนี้ อาศัย
อะไร ดังนี้เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารเหมือนกัน. เวทนา
ที่เกิดขึ้นพิจารณากลิ่นเป็นต้น เป็นอารมณ์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น เวทนานี้จึง
ชื่อว่า มีฆานะ ชิวหา กายสัมผัสเป็นปัจจัย จิตทั้งหลายย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา
อย่างนี้.
ก็จิตในมโนทวาร (มี 67 ดวง) ย่อมได้ด้วยอาการแม้ทั้ง 3.
จริงอยู่ กุลบุตรบางคนเห็นชาติ (ความเกิด) โดยความเป็นภัย ย่อม
เห็นชรา พยาธิ มรณะโดยความเป็นภัย ครั้นเห็นโดยความเป็นภัยแล้ว ก็คิด
ว่าเราควรพ้นจากชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ ดังนี้ ก็แต่ว่า อันบุคคลผู้นอน
หลับอยู่ไม่อาจเพื่อจะพ้นจากชาติเป็นต้นได้ เราควรทำความเพียรชำระศีลให้
บริสุทธิ์ตั้งแต่นี้ทีเดียว ดังนี้ แล้วปฏิบัติโดยนัยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารนั่นแหละ
ก็ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น ชาติ ชรา พยาธิ
และมรณะเป็นปัจจัยมีกำลังเพราะความเกิดแห่งเวทนาอันเป็นไปในภูมิ 4 อย่างนี้
ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาเป็นไปในสมาบัติ 8 เป็น
รูปาพจร อรูปาพจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระดังนี้ เพราะฉะนั้น

เวทนาที่เป็นไปในภูมิ 4 จึงชื่อว่ามีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวาร
ย่อมได้ด้วยอำนาจอุปนิสสัยอย่างนี้ก่อน.
คำทั้งหมดว่า ก็เมื่อธรรมารมณ์มาสู่คลองมโนทวารเป็นต้น พึงทราบ
โดยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารนั่นแหละ. เวทนาที่ก้าวล่วงกิเลสที่เกิดขึ้นใน
ธรรมารมณ์อย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น เวทนาเป็นไปในภูมิ 4 จึงชื่อว่า
มีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวารย่อมได้ด้วยอำนาจการก้าวล่วงกิเลส
อย่างนี้.
อนึ่ง เมื่อธรรมารมณ์มาสู่คลองมโนทวารแล้ว กุลบุตรผู้หนึ่งย่อมเริ่ม
กำหนดอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์นี้อาศัยอะไร ทราบแล้วว่า อาศัยวัตถุ
ก็พิจารณาว่า วัตถุอาศัยอะไร ทราบแล้วว่า อาศัยมหาภูตรูป ดังนี้ เธอ
จึงกำหนดมหาภูตรูป และอุปาทารูป ว่าเป็น รูป ย่อมกำหนดธรรมที่มีรูป
นั้นเป็นอารมณ์ว่าเป็น อรูป (นาม) ต่อจากนั้น ก็กำหนดนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย
ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาสังขารทั้งหลายโดยลำดับแห่งวิปัสสนาแล้วย่อมบรรลุ
พระอรหัต. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนานี้คือ ที่เกิดขึ้นพิจารณา
ธรรมารมณ์อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาที่เป็น
ไปในสมาบัติ 8 เป็นรูปาพจร อรูปาพจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ
ดังนี้ ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะมีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวารย่อมได้ด้วย
อำนาจภาวนาอย่างนี้.
ก็เวทนาอย่างละ 6 คือ เวทหาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิด
แต่มโนสัมผัส ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในที่สุดแห่งวาระมีวาระแห่ง
เวทนาหมวดละ 24 เป็นต้น แม้ทั้งหมดเหล่านี้ เวทนาเหล่านั้นตรัสด้วยอำนาจ
แห่งปัจจัยธรรมสัมปยุตกัน ดังนี้แล.
นิเทศแห่งเวทนาขันธ์ จบ

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัญญาขันธ์


แม้สัญญาขันธ์เป็นต้นก็พึงทราบโดยอุบายนี้.*
จริงอยู่ ในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ย่อมได้แม้เวทนาติกะ และปิติกะ
ในติกะทั้งหลายโดยสิ้นเชิง แม้ธรรมมีสุขสหคตะเป็นต้น ก็ย่อมได้แม้ในทุกะ
ทั้งหลาย.
ในนิเทศแห่งสังขารขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสคำว่า สัมปยุต
ด้วยผัสสะ เพราะแม้ผัสสะก็เป็นธรรมนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่ตรัสคำว่า
จิตฺตสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตด้วยจิต ) และในนิเทศแห่งขันธ์นี้ ธรรมทั้งหลาย
แม้มีเหตุทุกะเป็นต้น ย่อมได้ในทุกะทั้งหลาย ธรรมหมวดติกะเป็นเหมือน-
สัญญาขันธ์นั่นแล.
ในนิเทศแห่งวิญญาณขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสความที่
วิญญาณขันธ์เป็นธรรมเกิดแต่จักขุสัมผัส แต่ตรัสคำว่า จกฺขุวิญฺญาณํ (จักขุ
วิญญาณ) เป็นต้น เพราะใคร ๆ ไม่อาจเพื่อแสดงว่า วิญญาณเกิดแต่มโนสัม-
ผัส
ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้เป็นเช่นเดียวกับคำที่กล่าวในสัญญาขันธ์นั่นแล.
ก็ในนิเทศแห่งขันธ์แม้ทั้ง 3 เหล่านี้ ได้ธรรมหมวดติกะและทุกะ
มากกว่านิเทศแห่งเวทนาขันธ์ บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งวาระด้วยอำนาจ
แห่งธรรมติกะและทุกะเหล่านั้นเถิด ฉะนี้แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ
* โดยเหมือนเวทนาขันธ์